เว็บไซต์เผยแพร่การศึกษา โดยครูโสภิต จิรัญดร



ประวัติและผลงานขององค์การสหประชาชาติ

ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้น องค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ
ที่ก่อตั้งภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่สามารถจะยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคุกคามสันติภาพ
หรือช่วยเหลือปกป้องประเทศที่อ่อนแอได้ อีกทั้งสันนิบาตไม่อาจจะแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
หรือนำมติไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ ฉะนั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้น
ก็หมายถึงความสิ้นสุดของสันนิบาติชาติ ( ยกเลิกอย่างเป็นทางการใน ค.ศ 1946 )
 

อย่างไรก็ดี การที่มหาอำนาจฝ่ายอักษะประสบความสำเร็จในการรุกรานประเทศอื่นในระยะแรก
และเกือบจะบรรลุผลตามเป้าหมาย ประเทศที่ทำการต่อต้านมหาอำนาจฝ่ายอักษะมีความเห็นสอดคล้องกันว่า
จะให้ความร่วมมือกันในการป้องกันมิให้การรุกรานดังกล่าวเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหมายถึงความเห็นร่วมกัน
ที่จะต้องสร้างองค์การระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสันติภาพ จึงได้มีการตั้ง
องค์การสหประชาชาติขึ้นมาในวันที่ 24 ตุลาคม 2488 (ค.ศ.1945) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
การเคารพในหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ การส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
และสังคมของประชากรโลก ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ
โดยมีแผนการเพื่อรักษาสันติภาพในอนาคตจึงเริ่มขึ้นในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่
รัฐบุรุษคนสำคัญของมหาอำนาจตะวันตกคือ เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และรูสเวลท์
ประธานาธิปดีสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในการก่อตั้งสันนิบาติชาติ
ปัจจุบันนี้องค์การสหประชาชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เป็นที่พบปะประชุมกันเพียงแห่งเดียวในโลก
ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 185 ประเทศ

ผลงานขององค์การสหประชาชาติ
สหประชาชาติมีผลงานทางด้านสันติภาพมากมาย เช่น การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมสถานภาพสตรี
ต่อต้านการแบ่งชั้นวรรณะ การรังเกียจสีผิว และการเลือกการปฏิบัติทางเชื้อชาติ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
การควบคุมและแก้ไขปัญหาประชากร เป็นต้น
นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งองค์กรสหประชาชาติในพ.ศ. 2488 เป็นต้นมา ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนและถึงแม้ว่าองค์กรสหประชาชาติจะไม่ประสบผลสำเร็จในการระงับข้อพิพาท
หรือแก้ไขวิกฤตการณ์ในทุกกรณี แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้บรรเทาหรือผ่อนคลายบรรยากาศอันตึงเครียด
ระหว่างประเทศได้หลายครั้งหลายหน ซึ่งเป็นการช่วยให้โลกสามารถหลีกเลี่ยงมหาสงครามครั้งใหม่มาได้


องค์การหลักของสหประชาชาติ
สหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสมาชิก
191 ประเทศ (เมษายน 2548) ประกอบด้วยองค์กรหลัก (principal organs) 6 องค์กร คือ
ก) สมัชชา (General Assembly) ประกอบด้วยสมาชิกทุกประเทศของสหประชาชาติ
เป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่กำหนดแนวทางปฏิบัติงานขององค์การ พิจารณาและให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ
ภายในขอบเขตของกฎบัตรสหประชาชาติ พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
พิจารณารายงานขององค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติ มีหน้าที่เลือกสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรี
ความมั่นคงจำนวน 10 ประเทศ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจำนวน 54 ประเทศและคณะมนตรีอื่นๆ
ตลอดจนการรับสมาชิกใหม่ แต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อได้รับข้อเสนอแนะจากคณะมนตรีความมั่นคง
รวมทั้งพิจารณาและรับรองงบประมาณของสหประชาชาติกำหนดส่วนเฉลี่ยค่าบำรุงของประเทศสมาชิก
ข) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent Members)
จำนวน 5 ประเทศ (สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา)
และสมาชิไม่ถาวร (Non-permanent Members) จำนวน 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
และอยู่ในในตำแหน่งคราวละ 2 ปี มีหน้าที่สอบสวนกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง
ระหว่างประเทศและเสนอแนะวิธีดำเนินการ หรือแผนปฏิบัติการที่จะจัดทำความตกลงสำหรับการยุติข้อพิพาทโดยสันติ
เสนอแนะการรับสมาชิกใหม่ เสนอแนะสมัชชาฯ ในการแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติ
และทำหน้าที่ร่วมกับสมัชชาฯ ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาประจำศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ค) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council : ECOSOC)
ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทุกปีจะมีการเลือกตั้งแทนประเทศ
ที่พ้นตำแหน่งปีละ 18 ประเทศ สมาชิกที่ครบวาระแล้วมีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกตั้งซ้ำและสามารถรับเลือกตั้งซ้ำ
ในวาระต่อเนื่องได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็นคณะกรรมาธิการประจำ คณะกรรมาธิการภูมิภาค
และองค์กรผู้เชี่ยวชาญ มีหน้าที่ศึกษาและรายงานเรื่องระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
การศึกษา อนามัยและอื่นๆ รวมทั้งให้คำแนะนำ เพื่อส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ
ขั้นมูลฐานของปวงชน
ง) คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่ปกครองดินแดน
ในภาวะทรัสตี ประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคง เพื่อให้ได้สัดส่วนของประเทศที่ปกครอง
และมิได้ปกครองภาวะทรัสตีจำนวนเท่า ๆ กัน มีหน้าที่พิจารณารายงานของประเทศที่ทำหน้าที่ปกครองดินแดน
และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเร่งรัดการให้ดินแดนในภาวะทรัสตีเจริญก้าวหน้ารวดเร็ว
สามารถปกครองตนเองหรือเป็นเอกราชได้
จ) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 15 คน
อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี คัดเลือกจากผู้มีคุณสมบัติสูงสุดทางตุลาการในประเทศของตนหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงและสมัชชาฯ เป็นผู้คัดเลือก มีหน้าที่พิจารณาข้อขัดแย้ง
ในทางกฎหมายตามที่แต่ละประเทศเสนอต่อศาลฯ และให้คำแนะนำตัวบทกฎหมายเมื่อได้รับการร้องขอ
จากองค์กรภายในสหประชาชาติ รวมทั้งตีความกฎหมายระหว่างประเทศและการเตรียมร่างอนุสัญญา
และสนธิสัญญาที่กำหนดแนวทางปฏิบัติระหว่างชาติ
ฉ) สำนักเลขาธิการ (Secretariat) มีเลขาธิการสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของสหประชาชาติ
ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการ ในการประชุมทั้งปวงของสมัชชา
คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม และคณะมนตรีภาวะทรัสตี รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่
ที่องค์กรเหล่านี้มอบหมาย พร้อมทั้งจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับสหประชาชาติเสนอต่อสมัชชาฯองค์กรต่างๆ
เหล่านี้มีสำนักงานอยู่ที่นครนิวยอร์ก ยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
นอกจากนี้ ยังมีทบวงการชำนัญพิเศษ (Specialized Agencies) อีกจำนวน 16 องค์กร ซึ่งเป็นองค์การอิสระ
และปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ผูกพันกับสหประชาชาติตามข้อตกลงพิเศษ ประกอบด้วยสมาชิก
ทั้งที่เป็นและไม่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ โดยมีคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมกับสมัชชาฯ
เป็นองค์กรประสานงาน
 
ไทยกับสหประชาชาติในสหัสวรรษใหม่

สหประชาชาติได้จัดการประชุม Regional Hearings ขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ 5 ภูมิภาค
ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียตะวันตก (จัดที่กรุงเบรุต เลบานอน) ภูมิภาคแอฟริกา (กรุงแอดดิส อาบาบา เอธิโอเปีย)
ภูมิภาคยุโรป (นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์) ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (กรุงซานติอาโก ชิลี)
และภูมิภาคเอเชีย (กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น) เพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุก ๆ ฝ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงาน
ของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ซึ่งในส่วนของภูมิภาคเอเชีย คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคม
สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ได้จัดการประชุม Regional Hearings ขึ้นที่กรุงโตเกียว
ระหว่างวันที่ 9 - 10 กันยายน 2542 โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ
และองค์กร เอกชนไทยเข้าร่วม
ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า ปัจจุบันงานของสหประชาชาติ
ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนในทุก ๆ ด้านทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม บทบาทของสหประชาชาติในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
ซึ่งครอบคลุมไปถึงประเด็นที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง เช่น ความยากจน การละเมิดสิทธิมนุษยชน
ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ความด้อยพัฒนา การแพร่กระจายของโรคติดต่อร้ายแรง(รวมถึง HIV/AIDS)
การฉ้อราษฎร์บังหลวง

กรมองค์การระหว่างประเทศและคณะกรรมการประสานงานสหประชาชาติ
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับนโยบาย
ของไทยในกรอบพหุภาคี และกรอบสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี โดยที่ขอบข่ายงานด้านนี้มีสาระ
ครอบคลุมงานในสาขาเฉพาะต่าง ๆ มากมาย และเพื่อให้การดำเนินนโยบายของไทย
ในกรอบสหประชาชาติตอบสนองต่อผลประโยชน์ของชาติให้ได้มากที่สุด

หลักการของสหประชาชาติ

กรมองค์การระหว่างประเทศและคณะกรรมการประสานงานสหประชาชาติ
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับนโยบาย
ของไทยในกรอบพหุภาคี และกรอบสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี โดยที่ขอบข่ายงานด้านนี้มีสาระ
ครอบคลุมงานในสาขาเฉพาะต่าง ๆ มากมาย และเพื่อให้การดำเนินนโยบายของไทย
ในกรอบสหประชาชาติตอบสนองต่อผลประโยชน์ของชาติให้ได้มากที่สุด

ในกฎบัตรสหประชาชาติ ได้กำหนดหลักการสำคัญ ๆ อันถือได้ว่าเป็นรากฐานขององค์การที่จะเป็นข้อผูกพันทั่ว ๆ ไป
สำหรับประเทศสมาชิกและองค์การโดยส่วนรวม ซึ่งมีหลักการดังนี้
1. สมาชิกทั้งปวงธำรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและสิทธิเสมอภาคโดยเท่าเทียมกัน
2. สมาชิกทั้งปวงจะปฏิบัติตามข้อผูกพันตามกฎบัตรโดยสุจริตใจ
3. สมาชิกทั้งปวงจะระงับกรณีพิพาทระหว่างกันโดยสันติวิธี
4. สมาชิกทั้งปวงจะละเว้นการคุกคามหรือการใช้กำลังบังคับ
5. สมาชิกทั้งปวงจะให้ความช่วยเหลือทุกประการแก่สหประชาชาติ
6. องค์การจะให้ความแน่นอนใจว่า รัฐที่มิได้เป็นสมาชิกจะต้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับกฎบัตรขององค์การ
7. องค์การจะไม่เข้าไปแทรกแซงในกิจการภายในของประเทศใด ๆ

วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ

ในกฎสหประชาชาติ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ดังนี้
1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวง
3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพของสิทธิมนุษยชน
และอิสรภาพอันเป็นหลักมูลฐานสำรับทุก ๆ คน
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวง
ในอันที่จะบรรลุสู่จุดหมายปลายทางร่วมกันอย่างกลมกลืน


 
 

บทบาทของไทยในสหประชาชาติ

บทบาทของไทยในฐานะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ
ในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครได้เป็นที่ตั้งขององค์การในระดับภูมิภาคและสำนักงาน
ที่สำคัญๆของสหประชาชาติหลายองค์การ ซึ่งเป็นองค์การหลักในด้านการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
เช่น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)
สำนักงานส่วนภูมิภาคของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย
แห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก เป็นต้น การที่ประเทศไทยได้เป็นที่ตั้งของหน่วยงาน
สหประชาชาติหลายหน่วยงานเช่นนี้ ได้เปิดโอกาสให้ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหประชาชาติ
ในด้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ให้ประโยชน์โดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของไทยโดยเฉพาะต่อประชาชนที่ยังมีฐานะยากจนและขาดแคลนในด้านสาธารณูปโภค
และระบบสุขอนามัยที่ดี
บทบาทและความร่วมมือระหว่างไทยและสหประชาชาติในด้านสังคม
ประเทศไทยได้พัฒนามาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ซึ่งเป็นที่ยอมรับ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานของประชาชนภายในประเทศ เช่น การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศด้าน
สิทธิมนุษยชน เพื่อรับพันธกรณีที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนด้านต่าง ๆ เช่น สิทธิพลเมือง
สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ไทยยังจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่
ในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (CHR) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อมี
ส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ
ในด้านการพัฒนาสังคม นอกจากการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมศักยภาพ
ของบุคคลบางกลุ่มในสังคม เช่น ผู้พิการ และคนชรา แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์
เช่น ภาวะความยากจน การค้ามนุษย์ ยาเสพติด การฟอกเงิน การระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และอื่น ๆ
ได้กลายเป็นปัญหาที่ไร้พรมแดน และหลายกรณีเกี่ยวพันกันจนไม่อาจแยกจากกันได้
การแก้ไขปัญหาเฉพาะปัญหาภายในประเทศ จึงไม่ประสบความสำเร็จและไม่สามารถกระทำได้โดย
ประเทศใดตามลำพัง หากจำเป็นต้องร่วมมือกันในระดับระหว่างประเทศ และในทุกภาคของสังคม
ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์การเอกชน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน
ไทยได้ให้ความร่วมมือแก่สหประชาชาติในด้านการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะปัญหาในระดับภูมิภาคมาตลอด
ในขณะเดียวกัน ไทยก็ได้รับความช่วยเหลือด้านความรู้ ประสบการณ์ และเงินทุนสำหรับแผนงาน
และโครงการต่าง ๆ ภายในประเทศโดยผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ
และสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
โครงการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNDCP) ด้วยเช่นกัน

2. ตำแหน่ง/รางวัลอันทรงเกียรติ
2.1 ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
ตำแหน่งทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador) แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เมื่อเดือนมีนาคม 2548 ทั้งนี้ ยูเนสโกได้ถวายตำแหน่งดังกล่าวแด่พระองค์ตั้งแต่ปี 2547
2.2 นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบัน
2.3 นายมีชัย วีระไวทยะ อดีตผู้อำนวยการสมาคมพัฒนาชุมชนและประชากรแห่งประเทศไทย
ได้รับรางวัลประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Award) ประจำปี 2540
เรื่องการส่งเสริมการคุมกำเนิด
2.4 นางมุกดา อินต๊ะสาร ครูจากจังหวัดพะเยา ได้รับรางวัล การต่อสู้กับความยากจน
(The Race against Poverty Award) ประจำปี 2542 จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
2.5 นางสาวแคทลียา แมคอินทอช นักแสดง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนพิเศษด้านเยาวชน
ขององค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย ในปี 2543
2.6 นางสาวภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก อดีตนางสาวไทยและนางงามจักรวาลประจำปี 2531 (ค.ศ.1988)
ได้รับเลือกให้เข้าร่วมในโครงการรณรงค์ระหว่างประเทศ "Face to Face" ของ UNFPA ในปี 2543
2.7 นางอามีนะ บีดิลและ ประธานสมาคมอาสาสมัครต่อต้านยาเสพติดจากประเทศไทย
ได้รับมอบรางวัล United Nations Vienna Civil Society Award ประจำปี 2543 จากสำนักงานควบคุมยาเสพติด
และการป้องกันอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UN/ODCCP)

 
     
 

 
 
 
หนังสืออ้างอิง
 
  กวี พันธุ์มีเชาว์ และคณะ. เกมลูกเสือ เนตรนารี 335 เกม (ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543.
นิชัฎ คำสมาน. กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ม.3. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2548.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เครื่องหมายลูกเสือโลก.
กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2538.
อำนาจ เจริญศิลป์.นิทานรอบกองไฟ.พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์, 2546.
 
     

 
     
 


 
 
 
© Copyright เมษายน 2551