เว็บไซต์เผยแพร่การศึกษา โดยครูโสภิต จิรัญดร
ชีวิตวัยเด็กของบี.พี.

บี.พี.อายุได้ 3 ขวบ บิดาของท่านก็เสียชีวิต ทำให้มารดาของท่านต้องมี
ภาระเลี้ยงดูลูก ๆโดยลำพังถึง 7 คน ท่านมีความสนใจในเรื่องธรรมชาติตั้งแต่ยังเด็ก
ชอบต้นไม้ ชอบเล่นกับสัตว์และยังร้องเลียนเสียงนกและสัตว์อื่นๆ
เมื่อบี.พี.อายุได้ 11 ปี ได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน โรสฮิลล์
จากนั้นก็ย้ายเข้ามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียน ชาเตอร์เฮาส์
ซึ่งมีภูมิประเทศที่ดีอยู่ติดป่าใหญ่ และมีแม่น้ำไหลผ่าน ทำให้บี.พี.มีโอกาส
ศึกษาและเรียนรู้ธรรมชาติด้วยตนเองมากขึ้น
ในช่วงวัยเด็ก บี.พี. ยังมีความรู้พิเศษมากมายจากคุณตา
คือพลเอกวิลเลี่ยม เฮนรี่ สไมธ์ ในเรื่องว่ายน้ำ เล่นสเก็ต ขี่ม้า วัดแดด
ใช้แผนที่ ใช้เข็มทิศดูดาว
ในระหว่างปิดภาคเรียน บี.พี.และพี่ชาย 3 คน มักชักชวนกันเดินออกทางไกล
ไปพักแรมในสถานที่ต่าง ๆ เสมอ โดยซื้อเรือใบเก่า ๆ แล้วนำมาซ่อมแซม
และใช้เล่นไปในสถานที่ต่าง ๆ ต่อมาท่านได้ซื้อเรือพายลำหนึ่ง
พายไปตามแม่น้ำสายต่าง ๆ พลบค่ำที่ไหนก็อาศัยนอนในยุ้งข้าวของชาวบ้าน
หรือพักแรมใต้ต้นไม้ ทำให้บี.พี. ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย
บี.พี.ได้วาดอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่ผ่านไปและได้ดูโรงงานทำกระดาษ
และโรงงานเครื่องปั้นดินเผา อันเป็นการเพิ่มพูนความรู้
เมื่อเรียนจบโรงเรียน ชาเตอร์เฮาส์ บี.พี. ได้ไปสอบเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อย
แซนด์เฮิสต์ หลังจากผ่านการอบรม บี.พี.ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
ร้อยตรีแห่งกองทัพอังกฤษ และถูกส่งไปประจำการที่ประเทศอินเดีย
ในกองทหารม้าอุสซาร์ที่ 13 ขณะอายุได้ 19 ปี

ที่มา: http://www.holy.ac.th/holy/website/BP.htm#2

.....
ชีวิตการรับราชการทหาร

บี.พี. ถูกส่งไปประจำการที่ประเทศอินเดีย
เมื่ออายุได้ 19 ปี และรับราชการในประเทศอินเดีย
เป็นเวลา 8 ปี อย่างเข็มแข็งอดทน
เป็นแบบอย่างของนายทหารที่ดี
จนได้รับยศร้อยเอก และยังได้รับรางวัล
ในการแข่งขันกีฬาแทงหมูป่าบนหลังม้า
โดยใช้หอกสั้นเป็นอาวุธ
การแข่งขันแทงหมู "Pig sticking"
ซึ่งเป็นการล่าหมูป่าบนหลังม้าโดยมีหอกสั้น
เล่มเดียวเป็นอาวุธ ซึ่งอันตรายมาก
เพราะหมูป่าถูกให้คำนิยามว่าเป็น
"สัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่กล้ากินน้ำแห่งเดียวกับเสือ"

ที่มา: http://www.tcc-roverden.com/History/index.php

   


เหตุการณ์ในแอฟริกา
บี.พี. ถูกย้ายไปประจำการในทวีปแอฟริกา
และได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้
พ.ศ. 2431 ได้สู้รบกับเผาซูลู และได้รับชัยชนะในการรบครั้งนั้น
พ.ศ. 2438 ได้สู้รบกับพวกอะชันตี ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตก
และได้รับชัยชนะในการรบ ครั้งนั้นท่านได้แต่งกาย
โดยสวมหมวกปีกกว้างแบบโคบาล จนได้รับฉายาว่า
คันตาไก (Kankakee) แปลว่าคนสวมหมวกปีกกว้าง
พ.ศ. 2439 ได้รับคำสั่งให้ปราบพวกมาตาบิลี ซึ่งเป็นชนเผ่าซูลู
ที่ได้ก่อกบฏในโรดีเซียตอนใต้ ท่านได้ต่อสู้โดยใช้ทักษะทางด้านการสอดแนม
และการสะกดรอย ซึ่งท่านได้ต่อสู้ด้วยความ
กล้าหาญและได้สมญานามว่า “อิมปิซ่า” ซึ่งแปลว่า สุนัขป่าที่ตื่นเสมอ

เหตุการณ์ที่เมืองมาฟิคิง

บี.พี. ได้รับคำสั่งให้นำทหารไปป้องกันที่เมืองมาฟิคิง ( Mafeking ) ซึ่งพวกบัวร์ ( Boar )
ล้อมไว้ ซึ่งท่านได้ก่อตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแหนมในการรบ และเป็นยามคอยส่งสัญญาณให้
จนรบชนะ ทำให้ท่านประทับใจมาก และคิดที่จะก่อตั้งการลูกเสือขึ้นในเวลาต่อมา

   
   
 
กำเนิดลูกเสือโลก  


ที่มา: http://www.tcc-roverden.com/History/index.php


เหตุการณ์ที่เมืองมาฟิคิง บี.พี.ได้รับคำสั่งให้นำทหารไปป้องกันเมืองมาฟิคิง ซึ่งพวกบัวร์ล้อมไว้ ซึ่งท่านได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมในการรบ และเป็นยามคอยส่งสัญญาณให้ จนรบชนะ ทำให้ท่านประทับใจมาก และคิดที่จะก่อตั้งการลูกเสือขึ้นในเวลาต่อมา

จุดนี้เอง ทำให้ บี.พี. เกิดประกายความคิดถึงโอกาส
ที่จะพัฒนาเด็กอังกฤษให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง
เพราะถ้าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับ
การปฏิบัติการสอดแนม
สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้
ถ้าท่านทำหนังสือสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
ก็คงจะได้ผลมากยิ่งขึ้น
บี.พี จึงเริ่มศึกษาเรื่องราวของการฝึกอบรมเด็ก
จากทุกยุคทุกสมัย และนำประสบการณ์ในอินเดีย
และแอฟริกา มาดัดแปลง และค่อย ๆ พัฒนาความคิดเกี่ยวกับการลูกเสืออย่างช้าๆ
ด้วยความระมัดระวัง จนกระทั่งฤดูร้อน
ของปี ค.ศ. 1907 ท่านจึงได้รวบรวมเด็กยี่สิบคน
ไปพักแรมกับท่านที่เกาะบราวน์ซี (Brownsea)
ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการอยู่ค่ายพักแรม
ของลูกเสือครั้งแรกของโลก
และประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม
 
    ที่มา:http://www.tcc-roverden.com/History/index.php
ต้นปี ค.ศ. 1908 บี.พี. ได้จัดพิมพ์คู่มือการฝึกอบรมขึ้น
แบ่งออกเป็นหกตอนในชื่อ "Scoutting for Boys" หรือ "การลูกเสือสำหรับเด็ก" ซึ่งมีภาพประกอบที่เขียนโดย
ตัวท่านเองอยู่ด้วย เมื่อหนังสือเริ่มวางจำหน่าย
แม้แต่ตัวท่านเองก็ไม่นึกไม่ฝันว่า มันจะเป็นจุด
ที่ทำให้เกิดกองลูกเสือขึ้นมากมาย
ไม่เฉพาะในอังกฤษเท่านั้น
แต่แพร่หลายไปในหลาย ๆ
ประเทศอีกด้วย
 
  ที่มา: http://www.tcc-roverden.com/History/index.php
 
 
   
เมื่อกิจการลูกเสือเติบโตขึ้น บี.พี.ได้มองเห็นโอกาสที่จะได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ด้วยการใช้การลูกเสือบ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองดี แทนที่จะต้องมาฝึกผู้ใหญ่ให้เป็นทหาร ท่านจึงได้ลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1910 ขณะที่มียศพันโท เพื่อเดินเข้าสู่ชีวิตที่ท่านเรียกว่า "ชีวิตที่สอง" (Second Life) ที่ให้บริการโลกใบนี้ด้วยกิจการลูกเสือ และได้รับผลรางวัลเป็นความรักและนับถือจากลูกเสือทั่วโลก
 
 

ปี ค.ศ. 1912 บี.พี. เดินทางรอบโลกไปพบปะกับลูกเสือ
ในประเทศต่าง ๆ และเริ่มต้นเสริมสร้างการเป็นพี่น้องกัน
ของลูกเสือทั่วโลก น่าเสียดายที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ทำให้งานนี้ต้องหยุดชะงักลงชั่วขณะแต่ก็เริ่มสาน
หลังจากสงครามสิ้นสุดลง
 
    ที่มา: http://www.tcc-roverden.com/History/index.php

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1920 ก็ได้จัดให้มีการชุมนุมลูกเสือระหว่างประเทศขึ้นในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นการชุมนุมลูกเสือโลกเป็นครั้งแรก (1st World Jamboree) และในคืนวันสุดท้ายของการชุมนุม บรรดาลูกเสือที่เข้าร่วมชุมนุมก็ร่วมกันประกาศให้ บี.พี. ดำรงตำแหน่งประมุขของคณะลูกเสือโลก (Chief Scout of the World)
และเมื่อกิจการลูกเสือดำเนินมาครบ 21 ปี พระเจ้ายอร์ชที่ 6 ก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ท่านเป็นขุนนาง มีชื่อยศว่า Lord Baden Powell of Gilwell มีบรรดาศักดิ์ชั้นบารอน มีนามว่า ลอร์ด เบเดน โพเอลล์
แห่ง กิลเวลล์
 
 
วิวัฒนาการของลูกเสือโลก

 
 

ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) เป็นผู้ก่อตั้งกิจการลูกเสือของโลกเป็นครั้งแรก และได้รับคัดเลือก
เป็นประธานคณะลูกเสือทั่วโลก เมื่อ พ.ศ.2463
องค์การลูกเสือโลก เกิดขึ้นที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2451 โดยอาศัยความคิดเห็นและหนังสือ
การลูกเสือสำหรับเด็กชาย "Scoutting for Boys"

หน้าที่ของหน่วยงานองค์การลูกเสือโลก
สมัชชาลูกเสือโลก
สมัชชาลูกเสือโลก คือ ที่ประชุมของผู้แทนคณะลูกเสือต่าง ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 119 ประเทศ
เป็นผู้แทนลูกเสือประมาณ 16 ล้านคน ประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้ประเทศละ 6 คน
เงื่อนไขการเข้าประชุม คือ การยอมรับและปฏิบัติตามจุดหมาย และหลักการลูกเสือโลกอย่างอิสระ
และไม่เกี่ยวกับการเมือง

คณะกรรมการลูกเสือโลก
คณะกรรมการลูกเสือโลก ประกอบด้วยบุคคล 12 คน จากสมาชิก 12 ประเทศ
เลือกตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก กรรมการลูกเสือโลกอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
และเลือกตั้งกันเองเป็นประธานและรองประธานในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกทุก ๆ 3 ปี
จะมีกรรมการพ้นจากตำแหน่ง 4 คน และจะเลือกตั้งกรรมการลูกเสือเข้าแทนที่
โดยวิธีลงคะแนนนับจากที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีผู้แทนมาจาก 119 ประเทศ
โดยปกติคณะกรรมการลูกเสือโลกจะมีการประชุมอย่างน้อยปีละครั้ง ณ เมืองเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังนี้
-ส่งเสริมกิจการลูกเสือโลก
-แต่งตั้งเลขาธิการของสำนักงานลูกเสือโลก
-จัดหาเงินทุนไว้สำหรับส่งเสริมกิจการลูกเสือ

สำนักงานลูกเสือโลก
สำนักงานลูกเสือโลก ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขาธิการการปฏิบัติตามคำสั่งหรือมติ
ของสมัชชาลูกเสือโลกและคณะกรรมการลูกเสือโลก มีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงาน
และมีเจ้าหน้าที่อีก 40 คนเป็นผู้ช่วย สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
นอกจากนี้ยังมีสำนักงานอีก 5 เขต คือ
เขตอินเตอร์-อเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองซานโฮเซ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เขตเอเชีย-แปซิฟิก ตั้งอยู่ที่เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
เขตอาหรับ ตั้งอยู่ที่เมืองไคโร ประเทศอียิปต์
เขตยุโรป ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เขตแอฟริกา ตั้งอยู่ที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา

ที่มา: http://www.holy.ac.th/holy/website/BP.htm#2

 
 

การให้บริการงานชุมนุมลูกเสือโลก

 

ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20
บริเวณหาดยาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2545 – 4 มกราคม 2546
คำขวัญของงานชุมนุม “ร่วมโลกเดียวกัน สร้างสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรม



ศาลาไทย เป็นสัญลักษณ์ของงานชุมนุม
ที่มา: http://www.holy.ac.th/holy/website/BP.htm#2
 

  หนังสืออ้างอิง  
  กวี พันธุ์มีเชาว์ และคณะ. เกมลูกเสือ เนตรนารี 335 เกม (ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543.
นิชัฎ คำสมาน. กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ม.3. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2548.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เครื่องหมายลูกเสือโลก.
กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2538.
อำนาจ เจริญศิลป์.นิทานรอบกองไฟ.พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์, 2546.
 
     


<กลับด้านบน>
© Copyright เมษายน 2551